วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ABC Analysis / การวิเคราะห์จัดกลุ่มด้วยระบบ ABC

ABC Analysis / การวิเคราะห์จัดกลุ่มด้วยระบบ ABC คือ  เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการจัดกลุ่มสินค้าเป็น 3 กลุ่ม เพื่อง่ายในการบริหารจัดการตามกลุ่มสินค้า การจัดลำดับมีหลายแบบตามแนวนโยบายที่ต้องการใช้บริหารขององค์กรเช่น การจัดลำดับสินค้าตามมูลค่าสินค้าคงคลังที่ถือครองรวมต่อปีของแต่ละรายการ, มูลค่าขายสินค้าแต่ละรายการ หรือส่วนแบ่งกำไรของสินค้านั้น โดยจัดแบ่งตามเกณฑ์การพิจารณาเช่น ในภาพจะใช้จำนวนรายการวัสดุ (Unit) มาคิดร่วมกับมูลค่า (Value) มูลค่าที่พูดถึงอาจเป็น มูลค่าการถือครอง หรือมูลค่าการขาย หรือมูลค่าส่วนแบ่งกำไร เพื่อจัดแบ่งกลุ่ม

- วัสดุกลุ่ม
คือ วัสดุในกลุ่ม จะประกอบด้วยสินค้าที่ีมีเพียงไม่กี่รายการ หรือมีจำนวน SKU (Stock Keeping Unit) น้อยอาจเพียง 5-15 % แต่เป็นรายการสินค้าคงคลังที่มีมูลค่าสูงเกิน 70-80 %  อาจกำหนดค่าขั้นสูง Y หากมีเก็บขั้นต่ำสูง Y ก็จะจัดอยู่ในวัสดุกลุ่มนี้ 

- วัสดุกลุ่ม คือ วัสดุในกลุ่ม B เป็นส่วนสินค้าที่มีมูลค่ารองลงไป จะได้รับความสำคัญน้อยลงจะประกอบด้วยสินค้ารายการระหว่าง 15-30 % แต่เป็นรายการสินค้าคงคลังที่มีมูลค่าต่ำกว่า 30 %  อาจอยู่ในระหว่างค่าที่่กำหนด โดยมีค่าต่ำกว่า Y แต่ยังสูงกว่าค่าขั้นต่ำ X ก็จะจัดอยู่ในวัสดุกลุ่มนี้ ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการถือครอง หรือมีมูลค่าการขาย หรือส่วนแบ่งกำไรรองลงไปจะได้รับความสำคัญน้อยลงเป็น B และ C ตามลำดับ 

- วัสดุกลุ่ม คือ วัสดุในกลุ่ม ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าน้อยสุด จะให้ความสำคัญน้อยที่สุดจะประกอบด้วยสินค้าที่ีมีรายการมาก 50-60 % แต่เป็นรายการสินค้าคงคลังที่มีมูลค่าต่ำเพียง 5-10 %  ต่ำกว่าค่าที่ได้กำหนดขั้นต่ำ X หากมีเก็บขั้นต่ำน้อยกว่า X ก็จะจัดอยู่ในวัสดุกลุ่มนี้

การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุแบบ ABC นั้นในส่วนของค่า X และ Y นั้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบริษัท การได้มาซึ่งค่านั้นต้องอาศัยการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อกำหนดทางสถิติ ข้อมูลนี้ทางฝ่ายจัดซื้อหรือฝ่ายคลังสินค้าควรเป็นผู้เก็บข้อมูลและเป็นฝ่ายกำหนด ควรมีการการปรับระดับความสำคัญอยู่เสมอ เพราะในระยะเวลาที่เปลี่ยนไป การตลาดที่ทำให้ความต้องการในการผลิตอาจเปลี่ยนแปลงทำให้ความสำคัญของวัสดุก็เปลี่ยนไปด้วย นอกจากนี้ ABC Analysis ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องการจัดตำแหน่งการวางสินค้า โดยจะจัดกลุ่มตามการเคลื่อนไหว (Movement) ของ 3 สินค้าแต่ละรายการได้อีกด้วย 


***********************************************************************************************************************************************


การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า(Introduction to Warehouse Management)
คลังสินค้า (warehouse)หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อน ย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้าย เพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้า (warehouse) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.      วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ
2.      สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่
การจัดการคลังสินค้า(Warehouse Management) เป็นการจัดการในการรับ การจัดเก็บ หมายถึง การจัดส่งสินค้าให้ผู้รับเพื่อกิจกรรมการขาย เป้าหมายหลักในการบริหาร ดำเนินธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดการดำเนินการเป็นระบบให้ คุ้มกับการ ลงทุน การควบคุมคุณภาพของการเก็บ การหยิบสินค้า การป้องกัน ลดการสูญเสียจากการ ดำเนินงานเพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำที่สุด และการใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่


วัตถุประสงค์ของการจัดการคลังสินค้า (Objective of Warehouse Management)
·        ลดระยะทางในการปฏิบัติการในการเคลื่อนย้ายให้มากที่สุด
·        การใช้พื้นที่และปริมาตรในการจัดเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด
·        สร้างความมั่นใจว่าแรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สาธารณูปโภคต่างๆ มีเพียงพอและสอดคล้อง กับระดับของธุรกิจที่ได้วางแผนไว้
·        สร้าง ความพึงพอใจในการทำงานในแต่ละวันแก่ผู้เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายสินค้า ทั้งการรับเข้าและการจ่ายออก โดยใช้ปริมาณจากการจัดซื้อ และความต้องการในการ จัดส่งให้แก่ลูกค้าเป็นเกณฑ์
·        สามารถ วางแผนได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุม และรักษาระดับการใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริการภายใต้ต้นทุนที่เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่าในการลงทุนตาม ขนาดธุรกิจที่กำหนด
ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า (The Benefit of a warehouse)
·        คลังสินค้า (warehouse) ช่วยสนับสนุนการผลิต (Manufacturing support)โดยคลังสินค้าจะทำหน้าที่ในการรวบรวมวัตถุดิบในการผลิต ชิ้นส่วน และส่วนประกอบต่างๆจากผู้ขายปัจจัยการผลิต เพื่อส่งป้อนให้กับโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไป เป็นการช่วยลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า
·        คลังสินค้า (warehouse)เป็นที่ผสมผลิตภัณฑ์ (Mix warehouse)ในกรณีที่มีการผลิตสินค้าจากโรงงานหลายแห่ง โดยอยู่ในรูปของคลังสินค้ากลาง จะทำหน้าที่รวบรวมสินค้าสำเร็จรูปจากโรงงานต่างๆไว้ในที่เดียวกัน เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามต้องการ ขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่รายว่าต้องการสินค้าจากโรงงานใดบ้าง
·        คลังสินค้า (warehouse) เป็นที่รวบรวมสินค้า (Consolidation warehouse) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าจำนวนมากจากโรงงานหลานแห่ง คลังสินค้าจะช่วยรวบรวมสินค้าจากหลายแหล่งเพื่อจัดเป็นขนส่งขนาดใหญ่หรือทำ ให้เต็มเที่ยว ซึ่งช่วยประหยัดค่าขนส่ง
·        คลังสินค้า (warehouse) ใช้ในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง (Break Bulk warehouse) ในกรณีที่การขนส่งจากผู้ผลิตมีหีบห่อหรือพาเลตขนาดใหญ่ คลังสินค้าจะเป็นแหล่งที่ช่วยในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลงเพื่อส่งมอบ ให้กับลูกค้ารายย่อยต่อไป
ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System: WMS)
มีการนำจัดการคลังสินค้า พัฒนาเชื่อมต่อกับระบบการผลิตและการจัดการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าโดยพัฒนา เป็นซอฟต์แวร์เฉพาะของแต่ละองค์การตามความเหมาะสม ระบบซอฟต์แวร์มักจะเชื่อมต่อตั้งแต่การจัดซื้อ จัดหา การผลิต การจัดส่ง การคืนสินค้า ซอฟต์แวร์ปฏิบัติการที่เป็นโซลูชั่นในระบบการจัดการคลังสินค้ามีให้เลือกใช้ มากมาย ธุรกิจที่เป็น Logistics Outsourcing Service หรือผู้ให้บริการการสนับสนุนแก่ธุรกิจการผลิต และกระจายสินค้า มีการเขียนโปรแกรมสำเร็จที่เป็นซอฟแวร์เฉพาะจำหน่ายให้กับธุรกิจคลังสินค้า ประเภทต่าง ๆ ตามความเหมาะสม แบบของโปรแกรมจะสอดคล้องกับการทำงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในคลังสินค้าไม่ว่าจะซับซ้อนแค่ไหนระบบของซอฟแวร์ที่ดีจะต้อง สามารถเชื่อมต่อ และรองรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพิ่มขีดความสามารถในการจัดการสินค้าคงคลัง และการกระจายสินค้า ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นจะต้องเป็นระบบที่ผู้ใช้งานหรือผู้ปฏิบัติงานสามารถ ใช้งานได้ง่าย
การนำเทคโนโลยีที่เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System: WMS) มาใช้ช่วยทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ และมีประโยชน์สำคัญดังนี้
1.      สามารถปรับปรุงให้สินค้าคงคลังมีความแม่นยำ
2.      ลดระยะเวลาในกระบวนการสั่งซื้อ
3.      ลดความบกพร่องในกระบวนการจัดการภายในคลังสินค้า
4.      ลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง
5.      ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
การพิจารณานำซอฟแวร์มาใช้ในการจัดการคลังสินค้าเพื่อเพิ่มขีดความ สามารถในการทำงาน การจัดหาซอฟแวร์มาใช้จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ ดังนี้
·        ต้องสามารถใช้ร่วมกันกับเทคโนโลยีที่ธุรกิจใช้อยู่ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และระบบเครือข่ายในองค์การ
·        ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นสากล เช่นใช้ร่วมกับ Barcode, RFID
·        ต้องมีความสามารถในการใช้งานได้สูง และหลากหลาย สามารถใช้ได้กับทุกกิจกรรมในคลังสินค้า เชื่อมต่ออย่างเป็นระบบกับส่วนงานอื่นได้
ระบบมาตรฐาน WMS ในการจัดการคลังสินค้า
ระบบ WMS ที่ดีจะถูกออกแบบเพื่อให้สามารถรองรับการบริหารจัดการ ทุกกิจกรรมภายในคลังสินค้าประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะคลังสินค้าในศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ของกิจการค้าส่ง ค้าปลีก อีกทั้งยังต้องสามารถดัดแปลงเพื่อเชื่อมโยงกับระบบการวางแผนทรัพยากรของ ธุรกิจ (Enterprise resource planning: ERP) อื่น ๆ ที่หน่วยงานหรือองค์กรมีอยู่ ในบางครั้งเพื่อลดความสับสน จึงมีการเรียกระบบ WMS ที่สนับสนุนระบบ ERP ว่า Warehouse-focused ERP system
มาตรฐานของการวางระบบ WMS ที่สำคัญจะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบทุกส่วนในองค์การที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน โดยจะต้องประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้
a.      การสร้างระบบเครือข่ายและการเชื่อมโยงข้อมูลภาย (Data network flow) โดยศึกษาว่าผู้เกี่ยวข้องในระบบหรือ ผู้ใช้ใน Supply network มีองค์กรอะไรบ้าง เช่น คลังสินค้า (Warehouse) ผู้ผลิตสินค้า (Manufacture/Supplier) ศูนย์กระจายสินค้า (Distributor) หน่วยงานการขนส่ง และลูกค้า (Customer) สามารถทราบข้อมูลและสถานะของสินค้าแบบเรียลไทม์ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตสินค้า (Supplier) สามารถทราบปริมาณของสินค้าที่ถูกจัดจำหน่ายออกไปและปริมาณสินค้าคงคลัง ทำให้ผู้ผลิตสามารถคาดคะเนและจัดหาวัตถุดิบได้ล่วงหน้าได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งลดปัญหาการผลิตสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับการบริการให้แก่ลูกค้า ในส่วนของการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสามารถกำหนดให้ ผู้ใช้หลายระดับได้แก่ ผู้บริหารจัดการระบบฐานข้อมูล (Administrator) ผู้ปฏิบัติการ (Operator) ผู้ใช้งาน (User) ผู้ผลิต (Supplier/Manufacture)

b.     การรับสินค้า (Receiving) การรับสินค้าเป็นขั้นตอนที่กระทำต่อเนื่องมาจากการจัดซื้อซึ่งถูกจัดทำเป็น ฐานข้อมูลการสั่งซื้อ ระบบการรับสินค้าจะใช้ข้อมูลการสั่งซื้อ เป็นข้อมูลการนำเข้า (Input data) ซึ่งทำให้ผู้รับสินค้าหรือคลังสินค้า ทราบว่าสินค้านั้น ๆ สั่งซื้อเมื่อใด ปริมาณเท่าไร ผู้ขายและผู้ซื้อคือใคร และกำหนดการส่งมอบสินค้าว่าตรงตามเวลาหรือไม่ พาหนะที่ใช้ในการขนส่งคืออะไร ข้อมูลการสั่งซื้อที่เป็นระบบฐานข้อมูลทำให้ฝ่ายปฏิบัติการคลังสินค้าสามารถ จัดสรรพื้นที่และชั้นเก็บของ (Rack/Slot) ในการวางสินค้าได้ล่วงหน้า ในบางกรณีที่สินค้ายังไม่ได้ถูกกำหนดข้อมูลหรือบาร์โค้ดไว้ก่อนล่วงหน้า ระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อมูลลงไปในระบบฐานข้อมูลและพิมพ์บาร์ โค้ดออกมาตามมาตรฐานต่าง ๆ ที่ต้องการ

c.      การเก็บสินค้า (Put-away) ฐานข้อมูลจะมีการตรวจสอบขนาดของพื้นที่และชั้นเก็บของต่าง ๆ ว่ามีขนาดและน้ำหนักเท่าไร เพียงพอต่อสินค้าที่จะนำมาเก็บหรือไม่ และจำแนกประเภทของสินค้าไปเก็บไว้ในพื้นที่ที่เหมาะสมหรือตามเงื่อนไขที่ ต้องการแล้วทำการบันทึกลงในระบบฐานข้อมูลในระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง ต่อจากนั้นระบบจะทำการกำหนดลำดับงานและเส้นทางในการจัดเก็บสินค้าที่เหมาะสม

d.     หยิบสินค้า (Order picking) เมื่อคลังสินค้าได้รับใบสั่งสินค้าจากลูกค้า (Order) เจ้าหน้าที่คลังสินค้าจะต้องออกไปหยิบสินค้าที่กำหนดไว้ตามคำสั่งซื้อ สินค้าอาจอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ต่าง ๆ หลังจากหยิบแล้วจะนำกลับมาที่จุดรับของหรือจุดส่งของ โปรแกรมจะทำการประมวลผลข้อมูลจากฐานข้อมูลและจัดเรียงลำดับก่อนหลังการหยิบ สินค้าตามเงื่อนไขที่กำหนด
e.      การตรวจสอบยอดสินค้า (Cycle count) ผู้ใช้ในคลังสินค้าสามารถทำการตรวจนับสินค้าเฉพาะบางส่วนหรือตามที่ต้องการ ภายในช่วงเวลาที่กำหนดโดยอาศัยการประมวลผลจากฐานข้อมูลแบบ Real time หรือสามารถตรวจนับในขณะที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ โดยที่ระบบ Cycle count สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Mobile network ซึ่งจะทำให้การตรวจนับสินค้ามีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น

f.       การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory control) ถือได้ว่าเป็นหัวใจในการบริหารจัดการคลังสินค้าโดยการทำงานเชื่อมต่อกับระบบ อื่น ๆ ควบคุมและตรวจเช็คการไหลเวียนของสินค้าภายในคลัง เช่น สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือปริมาณเท่าไร ทำให้สินค้าไม่จมคลังสินค้า นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลการส่งเสริมการขายจากร้านค้าปลีกต่าง ๆ จะถูกส่งเข้ากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตในช่วงที่ต้องมีการส่ง เสริมการขาย ในขณะที่คลังสินค้าต้องได้รับข้อมูลและเตรียมพื้นที่ในการเก็บสำรองสินค้า ซึ่งทำให้กิจกรรมภายในคลังสินค้าเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้มีการนำระบบ Dynamic slotting ที่ใช้กับคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าที่มีสินค้าหลากหลายชนิด (Product diversification) และมีอัตราการรับและส่งสินค้า (Turn over rate) ในปริมาณที่สูง ระบบจะทำการจัดเก็บสินค้าที่มีอัตรา Turn over สูง ไว้ในส่วนหน้าของคลังสินค้าที่อยู่ติดกับ Shipping dock สำหรับสินค้าที่มีอัตรา Turn over ต่ำก็จะถูกจัดเก็บไกลออกไป โปรแกรมจะประมวลผลการจากสถิติ Turn over ของสินค้าในทุก ๆ ช่วงเวลาที่กำหนด และกำหนดตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าแต่ละชนิดที่เหมาะสมเพื่อลดเวลาในการหยิบ สินค้า ลดพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน

g.      Mobile network ระบบ Mobile network อนุญาตให้ผู้ใช้หรือผู้เกี่ยวข้องเฉพาะสามารถติดต่อส่งผ่านข้อมูลเชื่อมต่อ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ภายในคลังสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีไร้สาย เช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบพกพา (Portable barcode) หรือ PDA นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เช่น ในระบบการหยิบสินค้า ในบางครั้งขณะที่พนักงานกำลังหยิบสินค้าอาจจะมี Order ใหม่เข้ามา ระบบจะทำการตรวจสอบว่าพนักงานคนนั้นสามารถหยิบสินค้าภายใน Order ใหม่ได้หรือไม่ พร้อมทั้งตรวจสอบค่าดัชนีประสิทธิภาพ (ระยะเวลา, ระยะทาง หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหยิบสินค้าทั้งหมด) ถ้าผลของจากการประมวลผล พบว่า คำสั่งซื้อ หรือOrder ใหม่ที่เข้าหากส่งให้พนักงานหยิบสินค้าคนนั้นไม่ขัดแย้งกับเงื่อนไข และค่าดัชนีประภาพเพิ่มขึ้น ระบบก็จะส่งข้อมูลและแทรกรายการของสินค้าที่จะหยิบภายใน Order ใหม่ไปยังเครื่อง PDA ของพนักงานหยิบสินค้า หรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ติดตั้งอยู่กับรถฟอร์คลิฟท์ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่สามารถหยิบสินค้าได้ทันทีทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมี ประสิทธิภาพมากขึ้น


งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด





การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด

เรื่อง : การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด
ผู้แต่ง  : สุนันทา ศิริเจริญวัฒน์
เอกสาร  : สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปีการศึกษา 2555
1.      ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด ยังมิได้มีการบริหารการจัดการคลังสินค้าที่เป็นระบบ และยังประสบกับปัญหาการตรวจนับสินค้าในแต่ละเดือนไม่ตรงกับยอดสินค้าที่เบิกจ่ายจริง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายสินค้าที่ไว้สำหรับใช้ในการผลิตเพื่อประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งนอกจากปัญหาสินค้าคงเหลือยังส่งผลต่อต้นทุนด้วย เพราะถ้ามีสินค้าเก็บมากเท่าไหร่ก็จะทำให้ต้นทุนสินค้านั้นจม
2.      วัตถุประสงค์
2.1    เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการคลังสินค้า
3.      ขอบเขตของการศึกษา
3.1    ศึกษาเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงขั้นตอนในการดำเนินงานในส่วนของคลังสินค้าของบริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด
3.2    ศึกษาเรื่องการปรับปรุงการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าบริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด
4.      ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การจัดการคลังสินค้า การควบคุมสินค้าคงเหลือ
5.      วิธีการ/ขั้นตอนการวิจัย
ศึกษาระบบการทำงานของคลังสินค้าในปัจจุบันของบริษัทตัวอย่าง เช่น วิธีการดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงานในปัจจุบันของคลังพัสดุ ชนิด ประเภท จำนวน ของพัสดุที่นำเข้ามาจัดเก็บ เป็นต้น วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและหาแนวทางและวิธีในการปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้าของบริษัทตัวอย่าง นำแนวทางที่ได้มาดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เปรียบเทียบผลการดำเนินงานหลังการใช้ สรุปผลการศึกษา
6.      ผลการวิจัย
กระบวนการทำงานใหม่ทำให้มีความรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น ระยะเวลาในการทำงานลดลง ความผิดพลาดน้อยลงและก่อให้เกิดความสูญเสียแก่สินค้าน้อยลงด้วย เพราะฉะนั้นในด้านคลังสินค้าสามารถใช้การปรับกระบวนการทำงาน การออกแบบคลังสินค้า จัดแบ่งประเภทสินค้าตามการหมุนของสินค้า และการจัดผังโครงสร้างทั้งกระบวนการทำงานใหม่เพื่อแบ่งขอบเขตในการทำงานและความรับผิดชอบต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการ มีการจัดทำ Stock Card และแบบฟอร์มสำหรับการตรวจนับสินค้าและการจัดเก็บสินค้ามาใช้ในการ
ปฏิบัติงานจริง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง จากการปรับปรุงการบริหารและจัดการคลังสินค้าในครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงมูลค่าของต้นทุนที่จมอยู่ในคลังสินค้า ซึ่งมีต้นทุนจมจากสินค้าค้าง Stock มูลค่าถึง 2,563,896 บาท ซึ่งทำให้ผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงปัญหา และเพื่อที่จะได้ดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป
7.      ข้อจำกัดการวิจัย

7.1 จำเป็นต้องมีการอบรมพนักงาน เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงานของแต่ละฝ่าย ทำให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งการจัดวางสินค้าในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) สาขาสุขสวัสดิ์

เรื่อง : การปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งการจัดวางสินค้าในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) สาขาสุขสวัสดิ์
ผู้แต่ง  : นางสาวเมธินี  ศรีกาญจน์
เอกสาร  : สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2555
1.      ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าเพื่อนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการคลังสินค้าให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ข้อมูลของบริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
สาขาสุขสวัสดิ์ เป็นกรณีศึกษาทั้งนี้ผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าเพื่อนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการคลังสินค้าให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด
2.      วัตถุประสงค์
2.1    เพื่อศึกษาการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าของบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) สาขาสุขสวัสดิ์
2.2     เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ภายในคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษา
3.      ขอบเขตของการศึกษา
3.1    ศึกษาเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงขั้นตอนในการดำเนินงานในส่วนของคลังสินค้าหลังจากสิ้นสุดกระบวนการผลิตจนถึงกระบวนการสุดท้ายก่อนการขนส่งศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนผังโรงงานภายในคลังสินค้าที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่างๆ และตำแหน่งการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าเพื่อให้เกิดเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
3.2    ศึกษาเรื่องการปรับปรุงการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า เพื่อทำให้ระยะเวลาในการดำเนินงานลดลง และลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจาการทำงานภายในคลังสินค้า
4.      ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวางผังคลังสินค้า กลยุทธ์การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า การหยิบสินค้า แผนผังก้างปลา การวิเคราะห์แบบ ABC (ABC ANALYSIS) หรือ กฎของพาเรโต (PARETO’S LAW) ในงานบริหารคลังสินค้า โปรแกรมเชิงเส้น
5.      วิธีการ/ขั้นตอนการวิจัย
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคลังสินค้าและการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า  ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องศึกษาภาพรวมและกระบวนการทางานภายในคลังสินค้าของบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) สาขาสุขสวัสดิ์ในปัจจุบัน รวบรวมข้อมูลและพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น ทำการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหา นำแนวทางการแก้ไขปัญหามาปรับปรุงกระบวนการการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าและเปรียบเทียบกับกระบวนการก่อนปรับปรุง สรุปวิธีการแก้ปัญหาการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า
6.      ผลการวิจัย
ระยะเวลารวมเฉลี่ยในการดำ เนินกิจกรรมลดลงเท่ากับ 9.81% และ การให้ทรัพยากรในการดำเนินกิจกรรม โดยวัดจากการให้ทรัพยากร 2 ชนิดด้วยกันคือ การให้งานของรถโฟล์คลิฟท์ที่สามารถลดลงได้ เท่ากับ 9.30% และการให้งานของโซนพื้นที่การจัดวางสินค้าต่อเวลาที่สามารถลดลงได้ เท่ากับ 13.33% ซึ่งจากผลงานวิจัยทำให้คลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทา ให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
7.      ข้อจำกัดการวิจัย
การศึกษาในครั้งนี้ไม่ได้คำนึงถึงการจัดวางพื้นที่ในการวางสินค้าชนิดอื่น ในการศึกษาครั้งต่อไปอาจมีการปรับเปลี่ยนให้สามารถรองรับพื้นที่ของสินค้าชนิดอื่นด้วย เพื่อที่จะสามารถนำไปให้กับคลังสินค้าชนิดอื่นได้

การออกแบบแนวคิดเบื้องต้นสำหรับจำลองสถานการณ์ระบบจัดเก็บและระบบการหยิบสินค้าในคลังสินค้า : กรณีศึกษาคลังสินค้าเอกชน

เรื่อง : การออกแบบแนวคิดเบื้องต้นสำหรับจำลองสถานการณ์ระบบจัดเก็บและระบบการหยิบสินค้าในคลังสินค้า : กรณีศึกษาคลังสินค้าเอกชน
ผู้แต่ง  : ธนิดา สุนารักษ์1, ธนกฤต โชติภาวริศ ,พัฒนพงษ์ แสงหัตวัฒนา ,อรณิชา อนุชิตชาญชัย ,บุษบา รื่นรมย์
เอกสาร  : การประชุมสัมมนาวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 9 (ThaiVCML2009) 19-21 พฤศจิกายน 2552
1.      ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
จากการศึกษาระบบการทำงานของบริษัทกรณีศึกษา พบว่าประสบปัญหาด้านการจัดการคลังสินค้า เนื่องจากไม่มีการออกแบบระบบจัดเก็บสินค้า (Storage System) รวมถึงระบบการหยิบสินค้า (Picking) ที่สอดคล้องกับระบบจัดเก็บสินค้า ทำให้เกิดการจัดวางสินค้าอย่างไม่เป็นระบบ และทำให้เสียเวลาในการเคลื่อนย้ายสินค้า การจัดเก็บสินค้าเข้าคลังสินค้า ไปจนถึงการนำสินค้าเข้าสู่ตู้คอนเทนเนอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมการหยิบสินค้า (Picking) จึงส่งผลกระทบต่อต้นทุนของการจัดการคลังสินค้า โดยทำให้เสียค่าแรงงานเพิ่มขึ้น ค่าน้ำมันของรถโฟล์คลิฟท์ในขณะค้นหาสินค้าสูงขึ้นเนื่องจากใช้ระยะทางการวิ่งรถสำหรับค้นหาสินค้ามากเกินความจำเป็น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
2.      วัตถุประสงค์
2.1    เพื่อศึกษาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บในคลังสินค้า
2.2    เพื่อลดค้าใช้จ่ายในการจัดการคลังสินค้า
3.      ขอบเขตของการศึกษา
การวิจัยบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนเร็วและบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนช้าของกรณีศึกษาคลังสินค้าเอกชน
4.      ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การจัดการคลังสินค้า การจำลองแบบสถานการณ์จริง
5.      วิธีการ/ขั้นตอนการวิจัย
ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ วิเคราะห์ปัญหาของสถานประกอบการ ศึกษากระบวนการปฏิบัติงานในคลังสินค้า วิเคราะห์ระบบการหยิบสินค้า ศึกษาข้อมูลสำหรับการออกแบบแนวคิดเบื้องต้น
6.      ผลการวิจัย
จากการศึกษาการปฏิบัติงานในคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษา บริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนเร็ว และบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนช้า ทั้งในส่วนของระบบการจัดเก็บสินค้า และระบบการหยิบสินค้า พบว่ามีระบบการจัดเก็บสินค้าแบบไร้รูปแบบ ซึ่งไม่สอดคล้องกับระบบการหยิบสินค้าที่เป็นแบบเลือกหยิบสินค้าทีละรายการแล้วเนินการตั้งแต่ต้นจนจบ (Picking to Order) จึงส่งผลให้เวลา และระยะทางการเคลื่อนที่ของรถโฟล์คลิฟท์ในการค้นหาสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกิจกรรมการหยิบสินค้า นั้นสูงกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงได้นำเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่คลังสินค้าตามหลักการการจัดการคลังสินค้า โดยในบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนเร็ว ควรเลือกใช้ระบบการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า (Product type) และระบบการหยิบสินค้าแบบ Wave picking ส่วนบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนช้า ควรเลือกใช้ระบบการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า (Product type) และระบบการหยิบสินค้าแบบเป็นชุดหรือโหล (Batch picking) รวมทั้งได้ทำการออกแบบแนวคิดเบื้องต้น (Conceptual Design)สำหรับระบบงานการปฏิบัติงานในคลังสินค้าทั้ง 2 บริเวณ ตามหลักการจำลองแบบสถานการณ์จริง เพื่อจะได้นำแนวคิดเบื้องต้นดังกล่าวไปทำการสร้างแบบจำลองสถานการณ์จริงให้กับระบบการปฏิบัติงานในบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนเร็ว และบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนช้า โดยใช้โปรแกรมจำลองสถานการณ์ ทั้งแบบก่อนปรับปรุง และหลังปรับปรุงต่อไปได้
7.      ข้อจำกัดการวิจัย

การวิจัยศึกษาเฉพาะบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนเร็วและบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนช้า

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์

เรื่อง : การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
ผู้แต่ง  : อชิระ เมธารัชตกุล
เอกสาร  : สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2557
1.      ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ และอุปกรณ์ประดับยนต์ ซึ่งมีการจัดส่งลูกค้าแบบ Milk Run และระบบเติมเต็มเพื่อจัดส่งแบบ Sequence ซึ่งความต้องการสินค้าไม่สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า รวมทั้งการสนับสนุนการผลิตแบบทันเวลาพอดีของลูกค้า ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการบริหารคลังสินค้า และระบบควบคุมสินค้าคงคลังที่ดีเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
2.      วัตถุประสงค์
2.1    เพื่อศึกษาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพความแม่นยำของข้อมูลสินค้าคงคลัง
2.2    เพื่อศึกษาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บในคลังสินค้า
2.3    เพื่อศึกษาวิธีการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
3.      ขอบเขตของการศึกษา
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการคลังสินค้าประเภทชิ้นส่วนรถยนต์ของบริษัทหนึ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาการควบคุมสินค้าคงคลังและการบริหารจัดการคลังสินค้า ซึ่งการนาไปประยุกต์ใช้กับองค์กรอื่น ควรมีการพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อป้องกันความผิดพลาด
4.      ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ปฏิบัติการคลังสินค้า ABC Analysis แนวคิดระบบการจัดเก็บสินค้า แผนผังความสัมพันธ์
5.      วิธีการ/ขั้นตอนการวิจัย
ศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบัน กำหนดวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ทำการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล  สรุปผลการวิจัย
6.      ผลการวิจัย
การแบ่งกลุ่มสินค้าคงคลังตามลาดับความสำคัญและการกำหนดความถี่ในการตรวจนับสินค้าคงคลังทาให้ข้อมูลสินค้าคงคลังมีความแม่นยามากขึ้นจากเดิม 67.75% เพิ่มเป็น 90.76% เพิ่มขึ้น 23% และเวลาเฉลี่ยของขั้นตอนการเบิกจ่ายต่อ 1 ใบเบิกลดลงจาก 25 นาทีเป็น 19 นาที ลดลง 6 นาทีต่อ 1 ใบเบิก และต้นทุนถือครองสินค้าตกรุ่นจากเดิม 25.20% ลดลง 4.20% ลดลง 21% รวมถึงประสิทธิภาพการส่งมอบลูกค้าเพิ่มขึ้นจาก 90% เป็น 100% สามารถช่วยให้ผู้บริหารคลังสินค้าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
7.      ข้อจำกัดการวิจัย

การวิจัยเน้นเฉพาะคลังสินค้าภายในโรงงาน และเป็นคลังสินค้าวัตถุดิบเท่านั้น