วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด

เรื่อง : การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด
ผู้แต่ง  : สุนันทา ศิริเจริญวัฒน์
เอกสาร  : สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปีการศึกษา 2555
1.      ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด ยังมิได้มีการบริหารการจัดการคลังสินค้าที่เป็นระบบ และยังประสบกับปัญหาการตรวจนับสินค้าในแต่ละเดือนไม่ตรงกับยอดสินค้าที่เบิกจ่ายจริง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายสินค้าที่ไว้สำหรับใช้ในการผลิตเพื่อประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งนอกจากปัญหาสินค้าคงเหลือยังส่งผลต่อต้นทุนด้วย เพราะถ้ามีสินค้าเก็บมากเท่าไหร่ก็จะทำให้ต้นทุนสินค้านั้นจม
2.      วัตถุประสงค์
2.1    เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการคลังสินค้า
3.      ขอบเขตของการศึกษา
3.1    ศึกษาเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงขั้นตอนในการดำเนินงานในส่วนของคลังสินค้าของบริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด
3.2    ศึกษาเรื่องการปรับปรุงการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าบริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด
4.      ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การจัดการคลังสินค้า การควบคุมสินค้าคงเหลือ
5.      วิธีการ/ขั้นตอนการวิจัย
ศึกษาระบบการทำงานของคลังสินค้าในปัจจุบันของบริษัทตัวอย่าง เช่น วิธีการดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงานในปัจจุบันของคลังพัสดุ ชนิด ประเภท จำนวน ของพัสดุที่นำเข้ามาจัดเก็บ เป็นต้น วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและหาแนวทางและวิธีในการปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้าของบริษัทตัวอย่าง นำแนวทางที่ได้มาดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เปรียบเทียบผลการดำเนินงานหลังการใช้ สรุปผลการศึกษา
6.      ผลการวิจัย
กระบวนการทำงานใหม่ทำให้มีความรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น ระยะเวลาในการทำงานลดลง ความผิดพลาดน้อยลงและก่อให้เกิดความสูญเสียแก่สินค้าน้อยลงด้วย เพราะฉะนั้นในด้านคลังสินค้าสามารถใช้การปรับกระบวนการทำงาน การออกแบบคลังสินค้า จัดแบ่งประเภทสินค้าตามการหมุนของสินค้า และการจัดผังโครงสร้างทั้งกระบวนการทำงานใหม่เพื่อแบ่งขอบเขตในการทำงานและความรับผิดชอบต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการ มีการจัดทำ Stock Card และแบบฟอร์มสำหรับการตรวจนับสินค้าและการจัดเก็บสินค้ามาใช้ในการ
ปฏิบัติงานจริง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง จากการปรับปรุงการบริหารและจัดการคลังสินค้าในครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงมูลค่าของต้นทุนที่จมอยู่ในคลังสินค้า ซึ่งมีต้นทุนจมจากสินค้าค้าง Stock มูลค่าถึง 2,563,896 บาท ซึ่งทำให้ผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงปัญหา และเพื่อที่จะได้ดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป
7.      ข้อจำกัดการวิจัย

7.1 จำเป็นต้องมีการอบรมพนักงาน เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงานของแต่ละฝ่าย ทำให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น