เรื่อง :
การปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งการจัดวางสินค้าในคลังสินค้า กรณีศึกษา
บริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) สาขาสุขสวัสดิ์
ผู้แต่ง : นางสาวเมธินี ศรีกาญจน์
เอกสาร : สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2555
1. ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าเพื่อนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการคลังสินค้าให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด
โดยใช้ข้อมูลของบริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
สาขาสุขสวัสดิ์ เป็นกรณีศึกษาทั้งนี้ผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าเพื่อนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการคลังสินค้าให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าของบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์
จำกัด (มหาชน) สาขาสุขสวัสดิ์
2.2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ภายในคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษา
3. ขอบเขตของการศึกษา
3.1 ศึกษาเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงขั้นตอนในการดำเนินงานในส่วนของคลังสินค้าหลังจากสิ้นสุดกระบวนการผลิตจนถึงกระบวนการสุดท้ายก่อนการขนส่งศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนผังโรงงานภายในคลังสินค้าที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่างๆ
และตำแหน่งการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าเพื่อให้เกิดเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
3.2 ศึกษาเรื่องการปรับปรุงการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า
เพื่อทำให้ระยะเวลาในการดำเนินงานลดลง และลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจาการทำงานภายในคลังสินค้า
4. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวางผังคลังสินค้า กลยุทธ์การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า
การหยิบสินค้า แผนผังก้างปลา การวิเคราะห์แบบ ABC (ABC ANALYSIS) หรือ กฎของพาเรโต (PARETO’S LAW) ในงานบริหารคลังสินค้า
โปรแกรมเชิงเส้น
5. วิธีการ/ขั้นตอนการวิจัย
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคลังสินค้าและการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า
ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องศึกษาภาพรวมและกระบวนการทางานภายในคลังสินค้าของบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์
จำกัด (มหาชน) สาขาสุขสวัสดิ์ในปัจจุบัน
รวบรวมข้อมูลและพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น ทำการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหา
นำแนวทางการแก้ไขปัญหามาปรับปรุงกระบวนการการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าและเปรียบเทียบกับกระบวนการก่อนปรับปรุง
สรุปวิธีการแก้ปัญหาการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า
6. ผลการวิจัย
ระยะเวลารวมเฉลี่ยในการดำ เนินกิจกรรมลดลงเท่ากับ
9.81% และ การให้ทรัพยากรในการดำเนินกิจกรรม โดยวัดจากการให้ทรัพยากร
2 ชนิดด้วยกันคือ การให้งานของรถโฟล์คลิฟท์ที่สามารถลดลงได้ เท่ากับ
9.30% และการให้งานของโซนพื้นที่การจัดวางสินค้าต่อเวลาที่สามารถลดลงได้
เท่ากับ 13.33% ซึ่งจากผลงานวิจัยทำให้คลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทา
ให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
7. ข้อจำกัดการวิจัย
การศึกษาในครั้งนี้ไม่ได้คำนึงถึงการจัดวางพื้นที่ในการวางสินค้าชนิดอื่น
ในการศึกษาครั้งต่อไปอาจมีการปรับเปลี่ยนให้สามารถรองรับพื้นที่ของสินค้าชนิดอื่นด้วย
เพื่อที่จะสามารถนำไปให้กับคลังสินค้าชนิดอื่นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น