วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าด้วยการจัดแผนผังคลังสินค้าใหม่ กรณีศึกษาบริษัท ABC

เรื่อง : การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าด้วยการจัดแผนผังคลังสินค้าใหม่ กรณีศึกษาบริษัท ABC
ผู้แต่ง  : ..อมรรัตน์ ปาลกะวงษ์ ณ อยุธยา
เอกสาร  : สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
1.      ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
 กรณีศึกษา บริษัท ABC เป็นดำเนินธุรกิจด้านประกอบและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ (Automotive Business) จึงทำให้มีสินค้าที่ต้องจัดเก็บในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทั้งวัตถุดิบ (Raw Material) และสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) แต่พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้ามีจำกัด และไม่มีการบริหารการจัดเก็บสินค้าที่ดีพอจึงทำให้ระบบการจัดเก็บสินค้าขาดประสิทธิภาพ ไม่มีการแบ่งเก็บสินค้าให้ง่ายต่อการหยิบจ่าย ในการหยิบงาน 1 ครั้งต้องใช้เวลาและระยะทางมากกว่าที่ควรจะเป็น อีกทั้งยังไม่สามารถควบคุมการเบิกจ่ายสินค้าด้วยวิธีการมาก่อนใช้ก่อน(First-In, First-Out) ได้ ผู้ศึกษาจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการศึกษาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องของการปรับปรุงการจัดแผนผังคลังสินค้าและระบบการจัดเก็บให้มีประสิทธิภาพและใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการนำระบบสารสนเทศมาช่วยในการเก็บข้อมูลและแสดงผลเพื่อความสะดวกรวดเร็วและลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
2.      วัตถุประสงค์
2.1    เพื่อศึกษาการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าบริษัท ABC
2.2    เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดเก็บสินค้าของบริษัท ABC
3.      ขอบเขตของการศึกษา
3.1    ศึกษาเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงขั้นตอนในการดำเนินงานในส่วนของคลังสินค้าของบริษัท ABC
3.2    ศึกษาเรื่องการปรับปรุงการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า
4.      ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีเกี่ยวกับการออกแบบแผนผังคลังสินค้า จัดทาแผนผังพื้นที่ กำหนดตำแหน่งสินค้าลงบนแผนผังบริเวณ กำหนดเนื้อที่เก็บรักษาตามขนาดของสินค้า แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการโซนนิ่ง FIFO และ ABC Analysis
5.      วิธีการ/ขั้นตอนการวิจัย
ศึกษาระบบคลังสินค้าเดิม แบ่งสินค้ากลุ่มๆ ตาม ABC Analysis และทำการวางผังคลังสินค้าตามหลักการในข้อ 4
6.      ผลการวิจัย
ผู้ศึกษาจะทำการแบ่งตามประเภทสินค้าที่ทำการจัดเก็บก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดวางแผนผัง โดยจะทำการแบ่งประเภทสินค้า ABC (ABC Analysis) ทีละกลุ่มสินค้า และได้การจัดการผังสินค้าใหม่โดยยึดหลักการเคลื่อนไหวของสินค้าเป็นหลัก ทำให้ได้พื้นที่ที่เหมาะสมสำหนักพื้นที่จำกัด
7.      ข้อจำกัดการวิจัย
7.1    รายการสินค้ามีปริมาณน้อย
7.2    พื้นที่คลังสินค้ามีจำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น