เรื่อง : การออกแบบแนวคิดเบื้องต้นสำหรับจำลองสถานการณ์ระบบจัดเก็บและระบบการหยิบสินค้าในคลังสินค้า
: กรณีศึกษาคลังสินค้าเอกชน
ผู้แต่ง : ธนิดา สุนารักษ์1, ธนกฤต โชติภาวริศ ,พัฒนพงษ์ แสงหัตวัฒนา ,อรณิชา อนุชิตชาญชัย ,บุษบา รื่นรมย์
เอกสาร : การประชุมสัมมนาวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ครั้งที่ 9 (ThaiVCML2009) 19-21 พฤศจิกายน 2552
1.
ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
จากการศึกษาระบบการทำงานของบริษัทกรณีศึกษา
พบว่าประสบปัญหาด้านการจัดการคลังสินค้า เนื่องจากไม่มีการออกแบบระบบจัดเก็บสินค้า (Storage
System) รวมถึงระบบการหยิบสินค้า (Picking) ที่สอดคล้องกับระบบจัดเก็บสินค้า
ทำให้เกิดการจัดวางสินค้าอย่างไม่เป็นระบบ และทำให้เสียเวลาในการเคลื่อนย้ายสินค้า
การจัดเก็บสินค้าเข้าคลังสินค้า ไปจนถึงการนำสินค้าเข้าสู่ตู้คอนเทนเนอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมการหยิบสินค้า
(Picking) จึงส่งผลกระทบต่อต้นทุนของการจัดการคลังสินค้า โดยทำให้เสียค่าแรงงานเพิ่มขึ้น
ค่าน้ำมันของรถโฟล์คลิฟท์ในขณะค้นหาสินค้าสูงขึ้นเนื่องจากใช้ระยะทางการวิ่งรถสำหรับค้นหาสินค้ามากเกินความจำเป็น
ซึ่งทำให้เกิดปัญหาภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
2.
วัตถุประสงค์
2.1
เพื่อศึกษาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บในคลังสินค้า
2.2
เพื่อลดค้าใช้จ่ายในการจัดการคลังสินค้า
3.
ขอบเขตของการศึกษา
การวิจัยบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนเร็วและบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนช้าของกรณีศึกษาคลังสินค้าเอกชน
4.
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การจัดการคลังสินค้า
การจำลองแบบสถานการณ์จริง
5. วิธีการ/ขั้นตอนการวิจัย
ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ
วิเคราะห์ปัญหาของสถานประกอบการ ศึกษากระบวนการปฏิบัติงานในคลังสินค้า
วิเคราะห์ระบบการหยิบสินค้า ศึกษาข้อมูลสำหรับการออกแบบแนวคิดเบื้องต้น
6.
ผลการวิจัย
จากการศึกษาการปฏิบัติงานในคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษา
บริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนเร็ว และบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนช้า ทั้งในส่วนของระบบการจัดเก็บสินค้า
และระบบการหยิบสินค้า พบว่ามีระบบการจัดเก็บสินค้าแบบไร้รูปแบบ ซึ่งไม่สอดคล้องกับระบบการหยิบสินค้าที่เป็นแบบเลือกหยิบสินค้าทีละรายการแล้วเนินการตั้งแต่ต้นจนจบ (Picking to
Order) จึงส่งผลให้เวลา และระยะทางการเคลื่อนที่ของรถโฟล์คลิฟท์ในการค้นหาสินค้า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกิจกรรมการหยิบสินค้า นั้นสูงกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงได้นำเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่คลังสินค้าตามหลักการการจัดการคลังสินค้า
โดยในบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนเร็ว ควรเลือกใช้ระบบการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า
(Product type) และระบบการหยิบสินค้าแบบ Wave picking ส่วนบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนช้า ควรเลือกใช้ระบบการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า
(Product type) และระบบการหยิบสินค้าแบบเป็นชุดหรือโหล
(Batch picking) รวมทั้งได้ทำการออกแบบแนวคิดเบื้องต้น
(Conceptual Design)สำหรับระบบงานการปฏิบัติงานในคลังสินค้าทั้ง
2 บริเวณ ตามหลักการจำลองแบบสถานการณ์จริง เพื่อจะได้นำแนวคิดเบื้องต้นดังกล่าวไปทำการสร้างแบบจำลองสถานการณ์จริงให้กับระบบการปฏิบัติงานในบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนเร็ว
และบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนช้า โดยใช้โปรแกรมจำลองสถานการณ์ ทั้งแบบก่อนปรับปรุง
และหลังปรับปรุงต่อไปได้
7.
ข้อจำกัดการวิจัย
การวิจัยศึกษาเฉพาะบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนเร็วและบริเวณคลังสินค้าหมุนเวียนช้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น